ระบบไคโรไลน์อีเลิร์นนิ่ง

วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558



PACKAGING DESIGN

สรุปผลการเรียน ครั้งที่ 3
วันอาทิตย์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2558


การวิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมอง
(Product and Package Visual Analysis)
โดย วรัญญู  หาญภิญญาคง
                                                                                                            27 มกราคม 2558

ก่อนการดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้แก่สินค้ายี่ห้ หรือ ผู้ผลิตราย ใดๆนั้น ผู้ออกแบบหรือนักพัฒนาควรต้องมีการวางแผนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นอย่าง เป็นระบบ ซึ่งโดย ทั่วไปในทางปฏิบัติการทางวิชาชีพของนักออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้น อาจจะเป็น การวางแผนและใช้สื่อบันทึก การดำเนินงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ ซึ่งอาจเป็นการเขียนแผนผังทาง ความคิด (Mind Mapping) เป็นแผ่นโน๊ตย่อๆ (Note Pad) แสดงหัวข้อไว้บนแผ่นกระดาน (Mood Board) เขียนหรือพิมพ์ไว้ในแผน ปฏิบัติการ ผ่านทางสมุด(Diary)หรือปฏิทินงาน(Calendar) ตามระยะเวลา (Design Plan or Timeline Operation Schedules) หากจัดทำเป็นรายงานสรุปในเชิงวิชาการก็ควรจัดทำให้สมบูรณ์เป็นลำดับขั้นตอนที่ชัดเจน สามารถที่จะตรวจสอบ ติดตาม และสรุปผลออกมาได้จริง เช่น การที่ควรต้องเริ่มต้น ด้วยการวางกรอบแนวคิด หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า การสร้างกรอบการดำเนินงาน (Frame Work  or Over View) เอาไว้ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางภาพกว้างๆ ที่สามารถสื่อให้เห็นแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
ที่มา:ผศ. ประชิด ทิณบุตร,2555





 ภาพที่1 : ภาพแสดงการวางแผนกรอบแนวคิดของการดำเนินงานอย่างย่อโดยใช้ หลักการ 3 ส. เพียง 3 ขั้นตอนเพื่อให้เห็นภาพรวมหรือเป็นจุดเริ่มต้น ของการที่จะดำเนินการคิดวางแผนงาน ในภาระกิจต่างๆ ที่จะ เกี่ยวข้องกับการอ้างอิงถึงการศึกษาข้อมูล ความรู้ ทฤษฎี หลักการ วิธีการ และแผนปฏิบัติการในเชิงลึก เฉพาะทางในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป
ที่มา : ประชิด ทิณบุตร,2555

การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตและรับรู้ทางการมองเห็นนั้น เป็นวิธีการศึกษา วิเคราะห์- วิจัยข้อมูลเบื้องต้น ที่นักวิจัยด้านการออกแบบสร้างสรรค์ แทบทุกสาขาอาชีพ ในขอบ ข่ายสายงาน ด้านการ ออกแบบทัศนสื่อสาร หรือที่เรียกว่าออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) นั้น ต้องใช้ ในการเริ่มต้นทำงานเสมอ โดยวิธีและการสังเกตุ คุณลักษณะรูปลักษณ์ที่ปรากฏภายนอก ของสิ่ง ใดๆนั้นโดยตรง โดยไม่ใช้เครื่องมือ หรือ เครื่องช่วยใดๆมาประกอบ (Observation of the obvious, external features without the aid of an instrument) เป็นการประมวลสรุปในสิ่งที่ได้รับรู้ ได้มองเห็น ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นการ ตรวจสอบหรือการบ่งชี้ถึงคุณลักษณะของสิ่งที่มอเห็น(Visual Inspection) โดย ใช้ดุลพินิจ หรือองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวของผู้สังเกต(Observed) ได้รับรู้(Percieved) และแปลความ หมาย (Translated and Transfered) ในสิ่งที่รู้ที่เห็นออกมาได้เช่นใด วิธีการใด หรือด้วยสื่อใดนั่น

การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็น
     Product's Package Visual Analysis : Structure and Graphic Components 

วิธีการที่จะตรวจสอบในสิ่งที่ต้องการหาคำตอบให้ได้นั้น นักออกแบบก็ควรต้องอาศัย องค์ความรู้ ต่างๆที่ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์มา เพื่อที่จะประมวลสรุปผลออกมาให้ได้อย่างมี หลักการและเหตุผล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้เพราะนักออกแบบ มีวิถีและวิธีการทำงาน ที่แตกต่างไปจากแนวทางการทำงา นของศิลปิน ในขอบข่ายทางศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) นั่น ก็คือการศึกษาวิจัย และค้นหาแนวทาง ที่เป็นไป ได้จริง(Feasibility Study) หรือยึดกฏแห่งการ ใช้งานจริงภายในตัวผลงาน (Physical Fact and Workability or Functionality Study) ให้ได้ ก่อนการยึดมั่นในหลักการทางความสวยความงาม ที่ปรากฏ เห็น เป็นรูปลักษณ์ภายนอก อันเป็น ประเด็นรองตามหลักการของการสร้างสรรค์ผลงาน ประเภท ประยุกต์ศิลป์(Applied Arts) ดังนั้นในกระบวนการทำงานของนักออกแบบ จึงควรต้องแสดง หลักฐาน หรือต้องมีสื่อแสดง ให้เห็นซึ่ง วิธีการคิดวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อแสดง ทักษะการใช้เครืองมือและอุปกรณ์ช่วยการผลิต และเพื่อการนำเสนอผลงาน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกระบวนการทำงานนั้น ก็ต้องใช้เพื่อสื่อสารให้ผู้ร่วมงานอื่นๆ (Co-Producer) ได้ร่วม คิดร่วมสร้างความเข้าใจในเบื้องต้น  รวมถึงการสื่อสารไปให้ถึงผู้ใช้งานปลายทาง(End Users) ทั้งหลายนั้น นักออกแบบก็ต้องคิดวางแผน และคำนึงถึงเป็นการล่วงหน้าเอาไว้ด้วยเช่นกัน
ภาพที่ 2 : แสดงส่วนประกอบของบรรจุภัณฑ์สินค้าที่มองเห็นของโลชั่นบำรุงเส้นผม ตรา วังพรม

หมายเลข 1 คือ เทคนิคการปิดโครงสร้าง (ฝาอลูมิเนียม)
หมายเลข
2 คือ ตัวผลิตภัณฑ์
หมายเลข
3 คือ โครงสร้างของบรรจุภัณฑ์
หมายเลข
4 คือ แผ่นสลากปิดบนตัวโครงสร้างบรรจุภัณฑ์เพื่อการสื่อสาร
หมายเลข
5 คือ ข้อความการบ่งชี้ชนิด-ประเภทสินค้า
หมายเลข
6 คือ ข้อความแนะนำตัวสินค้า
หมายเลข
7 คือ ข้อความ-กราฟิกอัตลักษณ์แสดงชื่อยี่ห้อสินค้า ( Logotype)
หมายเลข
8 คือ สื่อรูป-ภาพกราฟิก-ประกอบการสื่อความหมายร่วม
หมายเลข
9 คือ คำโฆษณา- ความดีของสินค้า-คำเชิญชวน
หมายเลข
10 คือ ข้อมูลแจ้ง-บ่งชี้ประกอบสินค้า


จากการการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประกอบของสินค้าและบรรจุภัณฑ์ด้วยวิธีการรับรู้ทางการมองเห็นสามารถประเมินได้ดังนี้

ข้อดี       1. โครงสร้างสินค้าบรรจุใส่ขวดพลาสติกมีความแน่นหนาคงทน
             2. เทคนิคการปิดโครงสร้างโดยการใช้ฝาอลูมิเนียมมีความแน่นหนากันระเหยได้ดี
             3. บอกสรรพคุณวิธีการใช้ได้ครบถ้วน
             4. บ่งบอกส่วนประกอบหลักชัดเจนและเป็นภาษาอังกฤษ

ข้อเสีย    1. ฉลากสินค้าทำมาจากกระดาษที่ไม่ป้องกันน้ำทำให้ชุดรุดได้ง่าย
             2. อาตเวิคไม่มีความสวยงาม
             3. วันที่ผลิตซ่อนอยู่ใต้ผลิตภัณฑ์
             4.ไม่มีโลโก้
             5.ไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานแสดง

             6.ไม่มีบรรจุภัณฑ์




ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์

1 ชื่อผลิตภัณฑ์ : โลชั่นบำรุงเส้นผม (น้ำมันงา)
2 ประเภท : สมุนไพร
3 ส่วนประกอบ : Ingredent Watwe, Mineral Oil, Sesame Oil, Cetyl Alcohol, Perfume
4 ประโยขน์ : บำรุงเส้นผม เพิ่มน้ำมันตามธรรมชาติให้เส้นผม ทำให้ผมนุ่มสวยไม่กระด่าง ไม่แห้งกรอบ      และเป็นเงางาม
5 คุณสมบัติ : เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ขัดผิว
6 ผลิตโดย : อาร์ เอส มาร์เกตติ้ง 
7 ที่อยู่ : 13/3 หมู่ 11 ถ.เลียบคลองสาม ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12130
8 การจัดจำหน่าย : หจก.สมุนไพรวังหรม 
9 ราคา ขนาดใหญ่ 150 บาท
10 เครื่องสำอางควบคุม เลขที่แจ้ง  10-1-5313342

ภาพที่ 3 : ภาพแสดงแบบสเก็ตเบื้งต้น
ที่มา : วรัญญู  หาญภิญญาคง


การวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวมและการมองเห็นบรรจุภัณฑ์

Visual Analysis Observation of the obvious, external features (usually without the aid
of an instrument) to arrive at a general estimate. Also called visual
inspection.(Businessdictionary,2012) Visual analysis is the basic unit of art historical writing. Sources as varied as art magazines, scholarly books, and undergraduate research papers rely on concise and detailed
visual analyses.You may encounter a visual analysis as an assignment itself; or you may
write one as part of a longer research paper.The purpose of a visual analysis is to recognize and understand the visual choices the artist made in creating the artwork. By observing and writing about separate parts of the art object, you will come to a better understanding of the art object as a whole.
A visual analysis addresses an artwork’s formal elements—visual attributes such as color, line, texture, and size. A visual analysis may also include historical context or interpretations of meaning. 
 
การวิเคราะห์ภาพ สังเกตที่เห็นได้ชัด ลักษณะภายนอก (ปกติ โดยไม่มีการช่วยเหลือของเครื่องดนตรี)ที่จะมาถึงประมาณการทั่วไปเรียกอีกอย่างว่า ภาพการตรวจสอบ(Businessdictionary,2012 )
การวิเคราะห์ภาพ เป็นหน่วยพื้นฐาน ของการเขียน ประวัติศาสตร์ ศิลปะ แหล่งที่มา แตกต่างกัน เป็นศิลปะนิตยสารหนังสือ วิชาการ และ งานวิจัย ระดับปริญญาตรี พึ่งพา รัดกุม และมีรายละเอียด analyses.You ภาพ อาจพบการวิเคราะห์ภาพ ที่ได้รับมอบหมาย เป็น ตัวเอง; หรือคุณอาจจะเขียนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย อีกต่อไปวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ภาพคือการ รับรู้และเข้าใจ ในตัวเลือกที่ มองเห็นศิลปิน ที่ทำ ในการสร้าง งานศิลปะ โดยการสังเกต และการเขียน เกี่ยวกับ ชิ้นส่วน ที่แยกต่างหากจากศิลปะวัตถุ ที่คุณ จะมาถึงความเข้าใจ ที่ดีขึ้นของ ศิลปะวัตถุ ที่เป็นทั้งการวิเคราะห์ภาพ ที่อยู่คุณลักษณะ อย่างเป็นทางการ ของ งานศิลปะ องค์ประกอบ ภาพเช่น สี เส้น เนื้อ และขนาด การวิเคราะห์ภายนอกจากนี้ยัง อาจรวมถึง บริบททางประวัติศาสตร์ หรือ การตีความ หมาย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น